เหรียญพญาครุฑยุดนาค ฯ

คุณสมบัติสินค้า:

SKU :

เนื้อเงิน

Share

๘๖ ปี เศรษฐี กิตติคุโณ 
เหรียญพญาครุฑยุดนาค เนื้อเงิน สร้าง ๒๙๙ เหรียญ





























เนื้อทองคำ


เนื้องเงิน


นวะโลหะ






 
พิธีพุทธาภิเษกมงคลวัตถุ "สิงห์ ๑" 86 ปีเศรษฐีกิตติคุโณ วาระแรกอธิษฐานจิตปลุกธาตุ ทั้ง 4 นะ มะ พะ ทะ ณ มณฑลพิธีอุโบสถวัดห้วยเงาะ วันอังคารที่ 17 มีนาคม 2558 เวลา 13.29 น. โดยมีพ่อท่านเขียว เป็นประธานในพิธี และพระเกจิคณาจารย์สายใต้ 108 รูป ร่วมสร้างตำนานปลุกพลังแห่งพระสุบรรณ ผู้เป็นใหญ่แห่งนภากาศ และพญาสิหราช ผู้มีอำนาจแห่งหิมพานต์ ให้สมบูรณ์แบบตามตำรับวัดห้วยเงาะ สร้างปรากฏการณ์ "ดีนอก-ดีใน" เข้มขลังเอกอุ ดั่งสมญานาม "พ่อท่านเขียว เทพเจ้าฝ่าย" ณ แผ่นดินลังกาสุกะ **อัศจรรย์ในพิธีเมื่อแรกเริ่มจุดเทียนชัยกระแสลมแรงพัดกระหน่ำดั่งราวจะเกิดพายุใหญ่แต่เพียงพริบตากลับสงบเรียบเงียบงัน เมื่อพิธีปลุกธาตุทั้ง 4 เริ่มขึ้น  บอกได้คำเดียวใครพลาดรุ่นนี้...เสียดาย

"ตำนานแห่งสิงห์ หรือราชสีห์"
คติความเชื่อที่นำ "สิงห์" หรือ "ราชสีห์" มาเป็นสัญญลักษณ์นั้น น่าจะมาจากคติของศาสนาพราหมณ์ ในตำนานของโหราศาสตร์ที่ถือว่า พระอาทิตย์ขี่ราชสีห์ และพระอาทิตย์เองก็ถูกสร้างมาจากราชสีห์ กล่าวคือ พระอิศวรได้นำเอาราชสีห์ 6 ตัวมาป่นให้ละเอียด แล้วห่อด้วยผ้าสีแดงแล้วพรมด้วยน้ำอมฤต ก็จึงบังเกิดพระอาทิตย์ขึ้น และราชสีห์นี้ได้นำมาใช้เทียมราชรถของผู้ยิ่งใหญ่ เช่น พระอาทิตย์ ดังนั้นอิทธิพลของการใช้ราชสีห์เป็นสัญญลักษณ์จึงปรากฏในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ภาพปูนปั้นฐานเจดีย์ และภาพจิตรกรรมฝาผนัง รวมถึงปรากฏในตำนานเมืองนครราชสีมา ตำนานพระนอนจักรสีห์ และพระมหาเวสสันดอนชาดกกัณฑ์มหาพน เป็นต้น

คุณลักษณะของราชสีห์ที่ปรากฏในหนังสือปัญหาพระยามิลินท์สีห วรรคที่ 5 นั้นมีลักษณะ 7 ประการคือ
1. เป็นสัตว์ที่สะอาดหมดจดไม่มัวหมอง
2. เที่ยวไปด้วยเท้าทั้งสี่ มีเยื้องกรายอย่างกล้าหาญ
3. มีรูปร่างโอ่อ่า สร้อยคอสะสวย
4. ไม่นอบน้อมสัตว์ใด ๆ แม้เพราะต้องเสียชีวิต
5. หาอาหารไปโดยลำดับ พบปะอาหารที่ใด ก็กินเสียจนอิ่มในที่นั้น ไม่เลือกว่าดี หรือไม่ดีกินได้ทั้งนั้น
6. ไม่มีการสะสมอาหาร
7. หาอาหารไม่ได้ก็ไม่ดิ้นรน ได้ก็ไม่ทะเยอทะยาน และไม่กินจนเกินต้องการ
สัญลักษณ์รูป “สิงห์” หรือ “ราชสีห์” ถูกนำมาใช้เป็นตราประจำตำแหน่งสมุหนายก ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๕) ทรงพระราชทานให้เป็นตราประจำกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ปวงประชาราษฎร์” หรือแม้แต่ ชาวต่างชาติต่างภาษาก็ยังยกย่อง “สิงห์” ว่า “เป็นที่สุดแห่งสัตว์มงคลทั้งปวง” และนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์สำคัญประจำชาติ เช่น อังกฤษ สิงคโปร์ และอินเดีย

ตั้งแต่โบราณกาลนั้น “สิงห์” หรือ “ราชสีห์” เป็นดั่งราชาแห่งสัตว์ทั้งปวง ด้วยลักษณะแห่งความเข้มแข็ง ทรงพลัง และสง่างามของสิงห์ พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมจึงนิยมที่จะนำรูปลักษณ์ดังกล่าวมาจัดสร้างเป็นเครื่องรางวัตถุมงคล โดยพุทธคุณแห่งการบูชาเครื่องรางวัตถุมงคลรูปสิงห์นั้น มีความเชื่อกันว่าจะทำให้ผู้ที่บูชานั้น

"มั่งมีในทรัพย์สิน และหมดสิ้นศัตรู อุปสรรคอันใดที่มีอยู่ จะสลายหายสิ้นไปโดยพลัน"
ผู้ที่ต้องเดินทางเข้าป่า มักจะนิยมพกพาเครื่องรางวัตถุมงคลรูปสิงห์ไว้เสมอ เพราะเชื่อว่า สัตว์ร้ายต่างๆ ในป่าจะยำเกรง ไม่กล้าทำอันตรายต่อผู้ที่บูชา เพราะ "สิงห์" คือ เจ้าแห่งป่า สัตว์น้อยหรือใหญ่ทั่วไพรพนา มิอาจหาญกล้าเข้ามากล้ำกรายและแม้แต่ความเชื่อของพราหมณ์ หรือโหราศาสตร์นั้นก็เชื่อว่า พระอาทิตย์ เอกะเทพเจ้า ผู้บันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ สว่างไสว มั่งคั่ง เพียบพร้อมด้วยมหาอำนาจบารมี ก็กำเนิดเกิดจากราชสีห์ สิงห์ เช่นกัน
ครุฑ สูง ประมาณ 3 ซ.ม. สิงห์สูงประมาณ 2.5 ซ.ม. ถ้าสิงห์ขนาดตั้งหน้ารถ สูงประมาณ 4 ซ.ม. (รวมฐาน) 
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้