พระศรีธรรมมุนีนาถ

คุณสมบัติสินค้า:

SKU :

เช่าบูชาแล้ว

หมวดหมู่ : โชว์พระ

Share

พระพุทธศรีธรรมมุนีนาถ หน้าตัก ๕.๙ นิ้ว
"ทองสัมฤทธิ์ " ตามุก 
หมายเลข ๕๘  วัดพระยาทำ วรวิหาร กรุงเทพ
 
พระครูภิศาลจริยาภิรม (หลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์  อติสฺกโข) อธิฐานจิต ปลุกเสก
 







 
พระพุทธศรีธรรมมุนีนาถ พระประธานประจำพระอุโบสถวัดพระยาทำวรวิหาร ถนนอรุณอมรินทร์  แขวงบ้านช่างหล่อ  เขตบางกอกน้อย กทม. เป็นพระนามที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานให้ ชาวบ้านผู้นับถือองค์หลวงพ่อพากันเรียกท่านว่า “หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์”เพราะมีอภินิหารมักเข้าฝันคนทั่วไป 

เป็นพระพุทธลักษณะปางมารวิชัยศิลป์อยุธยาตอนปลาย  สมัยพระนารายณ์มหาราช  หน้าตักกว้าง ๑ วา ๑ คืบ   สูง ๑ วา ๑ คืบ (๒.๓๐ เมตร)   เข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีมาพร้อมกับการสร้างวัด  เป็นพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง  ประมาณอายุกว่า  ๓๐๐  ปี มักมีอภินิหารที่เกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป  โดยเฉพาะการเข้าฝันในลาภ จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนเป็นอย่างมาก

แม้คนที่ไม่เคยมาวัดพระยาทำ ยังไปเข้าฝันให้มาทำบุญหลายราย  เช่น นางชรินทร์ กล้วยหอม อยู่ถึงมีนบุรี  กทม ,นางอำไพ  ศรีสกุลสิน อยู่หน้าวัดยาง  พรานนก  บางกอกน้อย,  พระภิกษุอยู่ที่วัดมกุฏกษัตริย์ กทม.,นางพรทิพย์ โดย คุณพรทิพย์หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ได้เล่าสิ่งตนได้ประสบมาว่า ได้ประสบอภินิหารภาพหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์เปล่งรัศมีออกมาเปล่งปลั่งขณะขึ้นแพ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งๆที่ภาพถูกห่อหุ้มอยู่ 

เมื่อต้นปี ๒๕๕๑ นี้ ชาวพระประแดงท่านหนึ่งมาตามหาวัดพระยาทำและเล่าว่าพระประธานไปเข้าฝันติดต่อกันหลายคืนทั้งเปล่งวาจาตรัสได้ด้วย   จึงมาตามหาว่ามีจริงไหม ? อีกทั้งท่านยังให้ลาภเป็นเลขสามตัวตรงๆ เมื่องวดก่อนปลายปี  ๒๕๕๐

บุคคลทั้งหมดมีตัวตนอยู่จริง เป็นบุคคลตัวอย่างที่ได้เปิดเผยสิ่งที่ตนได้ประสบกับความศักดิ์สิทธิ์ของ หลวงพ่อ ที่ต่างพากันมาตามหาขอทำบุญบ้าง จัดผ้าป่ามาทอดถวายบ้าง  ซึ่งชาววัดพระยาทำต่างภูมิใจและทึ่งในความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารขององค์หลวงพ่อเป็นอย่างยิ่ง ทุกวันนี้มีญาติโยมยังมาทำบุญเสม

วัดพระยาทำ เดิมมีชื่อว่า วัดนาค คู่กับ วัดกลาง ซึ่งตั้งอยู่คนละฝั่งคลองมอญ คือ วัดนาคอยู่ฝั่งเหนือ วัดกลางอยู่ฝั่งใต้ ต่อมาเมื่อวัดนาคเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระยาทำแล้ว จึงรวมชื่อวัดนาคกับวัดกลางเป็น วัดนาคกลาง ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน และ วัดทั้งสองนี้ต่างก็เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานกันว่า วัดนาคสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แต่ยังไม่พบหลักฐานทางเอกสารว่าใครเป็นผู้สร้าง สร้างในรัชกาลใด   มาในสมัยกรุงธนบุรี มีเรื่องเกี่ยวข้องกับวัดนาคปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า เมื่อราว พ.ศ. ๒๓๑๓ พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปทรงปราบก๊กพระฝาง (เรือน) ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ในฝ่ายเหนือได้สำเร็จ และรับสั่งให้จับพระสงฆ์ฝ่ายเหนือที่ร่วมกับพระฝางทำความเดือดร้อนแก่ ประชาชนทั้งหลายมาลงพระราชอาญาตามโทษานุโทษ และโปรดให้สังฆการีลงมาอาราธนาพระราชาคณะและพระสงฆ์อันดับจากกรุงธนบุรีขึ้น ไปบวชพระสงฆ์ไว้ในหัวเมืองเหนือทุกๆ เมือง และโปรดให้พระราชาคณะอยู่สั่งสอนพระธรรมวินัยในเมืองต่างๆ ดังนี้
๑. พระพิมลธรรมไปอยู่เมืองสวางคบุรี
๒. พระธรรมโคดมไปอยู่เมืองพิชัย
๓. พระธรรมเจดีย์ไปอยู่เมืองพิษณุโลก
๔. พระพรหมมุนีไปอยู่เมืองสุโขทัย
๕. พระเทพกระวีไปอยู่เมืองสววรคโลก
๖. พระโพธิวงศ์ไปอยู่เมืองศรีพนมทุ่งยั้ง
 

พระ ธรรมเจดีย์ที่พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้ไปจัดการคณะสงฆ์ที่เมืองพิษณุโลกนั้น เป็น เจ้าอาวาสวัดนาค มาก่อน ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระพิมลธรรม และโปรดให้ไปครองวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ในปัจจุบัน)๒ ข้อนี้แสดงว่า มีวัดนาคอยู่ก่อนสมัยกรุงธนบุรีแน่นอน
ในต้นรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เคยมีเรื่องให้รวมวัดนาคกับวัดกลางเข้าด้วยกัน คือ ให้มีพัทธสีมาเดียวกัน ดังความปรากฏในพระราชพงศาวดารตอนหนึ่งว่า พระพุฒาจารย์ (อยู่)๓ วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) ปรึกษากับพระธรรมธีรราชมหามุนี (ชื่น)๔ วัดหงส์รัตนารามแล้วนำความขึ้นถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชว่า “วัดนาคกับวัดกลางมีอุปจารใกล้กันนัก จะมีพัทธสีมาต่างกันมีควร ควรจะมีพัทธสีมาเดียวกัน ร่วมกระทำอุโบสถสังฆกรรมในพัทธสีมาเดียวกัน” พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระราชดำรัสให้พระราชาคณะประชุมกันพิจารณาวินิจฉัยเรื่องนี้ ในที่สุดที่ประชุมพระราชาคณะอันมีสมเด็จพระสังฆราช(ศรี) เป็นประธาน มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า วัดทั้งสองนี้มีคลองคั่นเป็นเขตอยู่ ควรมีพัทธสีมาต่างกันได้ ดังตัวอย่างมีเคยมีมาในครั้งกรุงเก่า ปรากฏว่ามตินี้ทำให้พระพุฒาจารย์ (อยู่) ถูกลงพระราชอาญาโดยให้ถอดสมณศักดิ์ ฐานเจรจาอวดรู้กว่าผู้ใหญ่ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ทรงออกประกาศให้เรียกว่า “มหาอกตัญญู”๔
การบูรณปฏิสังขรณ์  การที่มีคดีคัดค้านไม่ให้วัดนาคกับวัดกลางมีพัทธสีมาแยกกันดังกล่าวข้างต้น นั้น ชวนให้สันนิษฐานว่า ขณะนั้น คงจะมีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญในวัดใดวัดหนึ่งหรืออาจจะทั้ง ๒ วัดนี้ก็เป็นได้ มิฉะนั้นจะรื้อฟื้นเรื่องเก่าขึ้นมาเพื่อประโยชน์อะไร

อย่างไรก็ดี ใดด้านเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของวัดนั้น มีหลักฐานปรากฏชัดว่าในต้นรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.๒๓๒๕) ได้มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนกัน กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี เจ้าอาวาสวัดนาค(สืบต่อจากพระธรรมเจดีย์ในสมัยกรุงธนบุรี) พระครูศรีสุนทรกษรวิจิตร เป็นตำแหน่งคู่สวดในสมเด็จพระสังฆราชไปอยู่วัดกลาง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระมหาทองดี เปรียญเอก วัดหงส์รัตนาราม เป็นพระนิกรมมุนีไปครองวันนาคแทน๑


ในรัชการที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสนพระราชหฤทัยอย่างยิ่งในการทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา เช่น ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดหลายสิบวัด และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนข้าราชการผู้ใหญ่ช่วยรับภาระ บูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ด้วย ในการนี้ เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) สมุหนายก มีจิตศรัทธารับบูรณปฏิสังขรณ์วัดนาค แบบสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมดทับลงในที่เดิม ครั้นเสร็จแล้วได้น้อมเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วัดนาคจึงได้เป็นพระอารามหลวง และมีนามใหม่ว่าวัดพระยาทำ หมายถึง วัดที่เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์สร้างขึ้นใหม่

เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ผู้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนาคครั้งใหญ่นี้ เป็นบุตรคนที่ ๕ ของพ่อค้าเรือสำเภาสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อว่า จีนกุ๋ย อยู่ที่ตำบลคลองโรงช้าง เหนือจังหวัดราชบุรีขึ้นไป เมื่อจีนกุน มีครอบครัวแล้วได้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ริมฝั่งแม่กลอง (จังหวัดสมุทรสงคราม) ติดกับวัดใหญ่ ห่างจากวัดเพชรสมุทรวรวิหารไปทางเหนือประมาณ ๕๐๐ เมตร ในสมัยกรุงธนบุรีจีนกุนได้เข้ารับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็นพระราชสิทธิ ได้ยกที่ดินของตนทั้งหมดถวายให้แก่วัดใหญ่ แล้วย้ายมาอยู่ในกรุงธนบุรี ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หน้าวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) ต่อมาย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในคลองบางกอกน้อย ในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับพระราชทานเลื่อนขึ้นเป็นพระยาศรีพิพัฒน์ ตำแหน่งจางวางกรมพระคลังสินค้า ต่อมาเมื่อเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ถึงแก่อสัญกรรม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็นพระยาพระคลัง ครั้นถึงรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ เป็นต้นสกุลรัตนกุล๒ ถึงแกอสัญกรรมในรัชการที่ ๒ ท่านมีบุตรธิดา ๔ คน คือ (๑) จมื่นมหาดเล็ก (ทองอยู่) (๒) พระยาพิไชยสงคราม (สัตวา) ต่อมาเลื่อนเป็นเจ้าพระยารัตนามาตยพงศ์ภักดี (๓) ท้าววรจันทร์(ยิ้ม) (๔) พระนิกรมมุนี(เบญจวรรณ) เจ้าอาวาสวัดพระยาทำ๓


ต่อมาในรัชการที่ ๓ พระบาทสมเด็จตพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมทั้งวัดอีกครั้งหนึ่ง จนมีสภาพถาวรมั่นคงมาถึงรัชการที่ ๕ พระอุโบสถ และเสนาสนะต่างๆ เริ่มชำรุดทรุดโทรมลง พระครูสุนทรากษรวิจิตร (แจ้ง) เจ้าอาวาสร่วมกับอุบาสกอุบาสิกาบูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ต่อจากนั้นก็มีการบูรณะสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
 
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้