เหรียญนั่งพาน รุ่นชนะจน พ่อท่านคล้อย

คุณสมบัติสินค้า:

SKU :

หมวดหมู่ : พระเหรียญ

Share

เหรียญนั่งพานรุ่นแรก รุ่นชนะจน พ่อท่านคล้อย อโนโม
เนื้อสัตตะโลหะ 





3 วาระ 3 พิธีกรรม 3 จันทร์เพ็ญ
มหาอุตมฤกษ์ อุดมด้วยเมตตามหานิยม พิชัยสงคราม ปัญญาวาสนา และโชคชะตาราศี
วัตถุประสงค์ : เพื่อบูรณะซ่อมแซมเสนาสนะ วัดภูเขาทอง จ.พัทลุง

 



 
 
"เขาอ้อ" จ.พัทลุง เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปวิทยาคมของพระฤๅษีผู้บำเพ็ญพรตมาแต่โบราณ
 สันนิษฐานก่อตั้งก่อน พ.ศ.800 ตรงกับยุคสมัยพระเจ้าตะวันอธิราช อาณาจักรสุวรรณภูมิ กล่าวได้ว่าเป็นยุคสมัยที่ลัทธิพราหมณ์เริ่มเคลื่อนไหวออกจากประเทศอินเดีย (ชมพูทวีป) เพื่อขยายฐานศรัทธา อันเป็นผลกระทบจากศาสนาพุทธ ที่กำลังมาแรงในประเทศอินเดีย ทำให้ศาสนสถานของพราหมณ์หลายแห่งต้องกลายมาเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธ รวมทั้งสำนักเขาอ้อ เมืองพัทลุง ด้วย    ชื่อของ "สำนักเขาอ้อ" ปรากฏอยู่ในหนังสือโบราณเล่มหนึ่งที่ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย 
ในบันทึกหนังสือโบราณมีใจความว่า เดิมสำนักเขาอ้อ เป็นสำนักทิศาปาโมกข์ คือ เป็นที่บำเพ็ญพรตของฤๅษี ตกทอดมาถึงพราหมณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ ทำหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เชื้อพระวงศ์ หรือวรรณะกษัตริย์ และลูกหลานของผู้นำ เพราะพราหมณ์เป็นชนชั้นรักสงบ มีธาตุแห่งประนีประนอมสูง มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นชนชั้นการศึกษาชนชั้นแรกของโลก   


สำนักตักศิลาเขาอ้อ ผ่านกาลเวลามานานหลายศตวรรษ จนมาถึงยุคพราหมณ์รุ่นสุดท้าย ได้เล็งเห็นลัทธิพราหมณ์คงไม่อาจต้านทานพลังศรัทธาของพระพุทธศาสนาได้ จึงได้คิดหล่อหลอมเข้ากับศาสนาพุทธ และได้รับนิมนต์พระอาจารย์ทองจากวัดน้ำเลี้ยว ให้มาพำนักอยู่ในถ้ำศักดิ์สิทธิ์ ปรากฏชื่อในภายหลัง เรียกว่า "ถ้ำฉัตรทัณฑ์บรรพต" ทั้งได้มอบคัมภีร์ที่ได้รจนาผูกขึ้นเป็นมนต์อาคมตำรับพราหมณ์ให้ ซึ่งในเวลาต่อมา "เขาอ้อ" ได้พัฒนาตามบริบททางสังคมที่พัฒนาขึ้นจึงกลายมาเป็น "วัดเขาอ้อ" ในปัจจุบัน
 เจ้าสำนักเขาอ้อ ทุกรูปคงความขลังทางไสยศาสตร์ มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วทั้งภาคใต้ ได้ถ่ายทอดศิลปะวิทยาคมให้แก่ศิษย์ทุกชนชั้น ตั้งแต่ชั้นเจ้านาย เจ้าเมือง นักรบ นักบวช และฆราวาสผู้ครองเรือน ประดุจสำนักแห่งการต่อสู้ของชายชาตรี ศิษย์สำนักเขาอ้อ มีอยู่ทุกแห่งในภาคใต้ตลอดถึงแหลมมลายู ถ้าไม่เป็นศิษย์สายตรงก็เป็นศิษย์สายวิชาที่สืบทอดกันมาจากครูบาอาจารย์รุ่นต่อรุ่นต่อเนื่องตลอดมา

สมเด็จเจ้าจอมทอง ปรมาจารย์สำนักเขาอ้อ มีตำนานเล่าขานกันมาว่าเป็นสหธรรมิก (สหายธรรม) กับสมเด็จเจ้าพะโคะ วัดพะโคะ หรือที่รู้จักโดยสามัญว่าหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ต่างมีวิชาอาคมเข้มขลังได้ทดลองวิชาอาคมเท่าเทียมเสมอกัน


วัดภูเขาทอง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็นอีกหนึ่งในสาขาตักศิลาเขาอ้อ ก่อตั้งเมื่อประมาณ 80 กว่าปีที่แล้ว เดิมเป็นสถานที่พำนักของฤาษีตาปะขาวผู้บำเพ็ญตบะมาก่อน เรียกว่า วัดเขาทอง หรือวัดภูเขาทอง ปัจจุบันมี "พ่อท่านคล้อย อโนโม" หรือ "พระครูพิพิธวรกิจ" พระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อที่อาวุโสสูง ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดดอนศาลา (สาขาเขาอ้อ) อยู่รับใช้ใกล้ชิดหลวงลุง คือพระอาจารย์เอียด ปทุมสโร ได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาอาคม ตำรา อักขระยันต์ ไสยศาสตร์โดยตรง จนกระทั่งอุปสมบท และมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดภูเขาทอง พัฒนาวัด พัฒนาชุมชนจนเจริญรุ่งเรือง

พิธีกรรมไสยศาสตร์และการปลุกเสกพระเครื่องรางของขลังของพ่อท่านคล้อยสุดขลัง พิสูจน์ได้จากวัตถุมงคลหลายสิบรุ่นที่ได้รับความนิยม ศรัทธาจากลูกศิษย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เกิดประสบการณ์อย่างมากมาย โดดเด่นทางด้านแคล้วคลาด เมตตามหานิยม ค้าขายโชคลาภ
วัตถุมงคลรุ่นล่าสุด  "พ่อท่านคล้อย อโนโม" กำลังเป็นที่สนใจของนักสะสม นั่นก็คือ เหรียญนั่งพานรุ่นแรกชนะจน เหรียญหลวงปู่ทวด พิมพ์เสมาหน้าเลื่อนย้อนยุคหลังพ่อท่านคล้อย ชุดบาตรน้ำมนต์จันทร์เพ็ญ และพระกลีบบัว เป็นต้น
 


 
หลวงพ่อคล้อย อโนโม    
    วัดภูเขาทอง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
    
ท่านเป็นศิษย์สายเขาอ้อสายตรงของแท้ โดยท่านเป็นหลานของ. ”พระอาจารย์เอียดวัดดอนศาลา“ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาสายเขาอ้ออย่างลึกซึ้งถึงแก่นแท้ของศาสตร์วิชา “ หลวงพ่อคล้อย “ เกิดเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2472ปัจจุบันอายุ85 ปี พรรษา 63 นามเดิมว่า นายคล้อย ทองโอ่ โยมบิดา ชื่อ นายแสงโยมมารดา ชื่อ นางเอียด เกิดที่บ้านมะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2493 ที่ วัดควนปันตาราม โดยมี พระครูรัตนากิรัตเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาเจิม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูกาชาต (บุญทองเขมทัตโต) วัดดอนศาลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์  พ่อท่านคล้อยเป็นหลานของพ่อท่านเอียดจึงได้รับการถ่ายทอดตำราวิทยาคมสายเขา อ้อของพ่อท่านทองเฒ่า,พ่อท่านเอียด,พ่อท่านปาน,อย่างเต็มที่ผนวกกับความ ตั้งใจศึกษาสรรพศาสตร์อย่างเต็มที จึงทำให้พ่อท่านคล้อยเป็นผู้คงแก่เรียน และเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์รูปหนึ่ง ในบรรดาศาสตร์วิชาที่พ่อท่านคล้อยมีความเชี่ยวชาญมากเป็นพิเศษแก่ได้ศาสตร์ วิชาพิธีกรรมการผูกหุ่นพยนต์ซึ่งการผูกหุ่นพยนต์นั้น มีหลายรูปแบบแตกต่างกันออกไป การสร้างหุ่นพยนต์ตาปะขาวจัดพิธีกรรมตามตำราเขาอ้อทุกประการโดยเริ่มแรก กำหนดเรียกรูปเรียกนามจากธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดินน้ำ ลม ไฟ จนให้เกิดอาการ 32 จนสามารถรับรู้รับเห็นเคลื่อนไหวได้เหมือนสิ่งมีชีวิต หรือผูกจิตซ่อนเร้นอยู่ในวัตถุธาตุอาถรรพณ์นั้นดวงจิตจะคอยแอบแฝงแสดงฤทธิ์ ปกป้อง คุ้มครองผู้ที่เป็นเจ้าของหุ่นพยนต์เมื่อมีผู้คนคิดปองร้ายหรือมีเจตนาที่ ไม่ดี ถ้าเป็นสถานที่ต่างๆ หุ่นพยนต์จะแสดงฤทธิ์ดูแลรักษาเฝ้าทรัพย์สินในพื้นที่นั้นๆการผูกหุ่นพยนต์นั้นการสร้างในแต่ละครั้ง พระอาจารย์ผู้ปลุกเสกนั้นจะต้องใช้สมาธิจิตขั้นสูงกว่าการปลุกเสกวัตถุมงคล ในรูปแบบอื่นๆมากนักและชนวนมวลสารในการจัดสร้างก็ต้องเป็นวัตถุอันเป็นมงคล และศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัวเองด้วยการทำให้ชนวนมวลสารมีความศักดิ์สิทธิ์เพิ่ม ขึ้น ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการเพิ่มอิทธิปาฎิหาริย์แก่วัตถุมงคล โดยการลงอักขระมหายันต์ต่างๆลงในชนวนมวลสารแล้วเสกกำกับด้วยมนตราอาคมอีกที หนึ่ง
    วัดภูเขาทอง ตั้งอยู่เลขที่ 158 ม3 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ. พัทลุง สังกัดคณะสงฆ์นิกาย มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ 13 ไร่ 1 งาน 40 ตารางวา นส.3 เลขที่ 2109 มีที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่ งาน 77 ตารางวา นส.3 เลขที่ 2114 วัดภูเขาทองสร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๒ ต่อมาจึงได้จัดสร้างวัดควลคู่กันไปด้วย สำหรับผู้บริจากที่ดินเป็นตระกูลของ หรือบางคนเรียก “วัดเขาทอง” ก็มี วัดภูเขาทองได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 35 เมตร ยาว 60 เมตร 

ปัจจุบันของวัดภูเขาทอง เจริญรุ่งเรื่องถาวรวัตถุเสนาสนะได้รับการดูแลรักษาโดย พ่อท่านคล้อย อโนโม อีกทั้งท่านยังมีส่วนร่วมสำคัญในการพัฒนาชุมชนด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และยังได้สนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนทุกๆ ปี อีกด้วย

 



ข้อมูล
http://www.eakkampee.com
http://www.amuletat7.com
ราคาเหรียญละ 350 บาท 

มีหลายเหรียญครับ

ส่งฟรี ลงทะเบียนครับ / ems เพิ่ม 30 บาท
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้