ลพ.หวล รุ่นอายุยืน๘๕

คุณสมบัติสินค้า:

SKU :

ชุดกรรมการเล็ก(๒)

หมวดหมู่ : พระเหรียญ

Share

เหรียญพระพุทธไธศวรรวรคุณ รุ่น อายุยืน ๗ รอบ ๘๕ ปี
(หลวงพ่อหวล วัดพุทไธศวรรย์) ชุดกรรมการเล็ก ๓ เหรียญ
(ชุดที่๒)

 

 

 

 

-เนื้อตะกั่ว หน้ากากทองระฆัง                   
-เนื้อทองสัตตะไม่ตัดปีก
-เนื้อทองระฆัง หน้ากากทองแดง

 
จากทีผู้สร้างเหรียญหลวงปู่ทวด รุ่นปาฏิหารย์ EOD อันลือลั่น สู่เหรียญอายุยืน๗รอบ หลวงพ่อหวล วัดพุทไธศวรรย์ 
 

 

 

 

 

พุทธาภิเษก เมื่อ  ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔ฃ๕๖ 

วัตถุประสงค์ 
- เพื่อหารายได้จัดตั้งกองทุน "กัลพฤกษ์" หลวงพ่อหวล วัดพระพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา
-เพื่อแจกจ่ายเป็นของขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ ใน๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้


ประธานจัดสร้าง
พันเอกทวีศักดิ์  จันทราสินธุ์ และคณะศิษย์ทุกสายร่วมเป็นเจ้าภาพ


              "วัดพุทไธศวรรย์" ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศใต้พระราชวังเดิมของกรุงศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันมีอายุเก่าแก่ถึง ๖๕๘ ปี โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ทรงโปรดสถาปนาสร้างไว้ ณ บริเวณท้องพระโรงตรงตำหนักเดิมของพระองค์
ตามพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๔ ได้บันทึกไว้ว่า หลังจากพระเจ้าอู่ทองที่ ๔ ได้สืบราชสมบัติได้ ๖ ปี ได้เกิดโรคห่าขึ้นในพระนคร พระองค์จึงได้ย้ายมาตั้งราชธานีใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนั้น หลังจากกองทัพพม่าเข้าห้ำหั่นเผาบ้านทำลายเมืองกรุงศรีอยุธยา วัดแทบทุกวัดได้ถูกเผาทำลายเกือบทั้งหมด คงเหลือเพียงซากปรักหักพังที่ยากแก่การบูรณปฏิสังขรณ์ บ้างก็กลายเป็นวัดร้าง คงเหลือแต่วัดวัดพุทไธศวรรย์เพียงวัดเดียวในบริเวณเกาะเมืองที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด และได้รับพระราชอุปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์หลายพระองค์จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะปรางค์ประธาน องค์ใหญ่ศิลปะแบบขอมที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์

              นอกจากนี้ยังมี "หลวงพ่อดำ" เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ลักษณะปูนปั้นทาด้วยสีดำ พระพักตร์รูปไข่ เป็นศิลปะอู่ทอง หรืออยุธยาตอนต้น เชื่อว่าสร้างควบคู่มาพร้อมกับการสร้างพระอุโบสถ เล่าขานต่อกันมาว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา หากใครเจ็บป่วยไข้ เมื่อผ่านมาที่วัดแห่งนี้จะขึ้นไปสักการะหลวงพ่อดำเพื่อขอให้หายเจ็บป่วยซึ่งปรากฏปาฏิหาริย์หายเจ็บป่วยไปตามๆ กัน รวมทั้งขอพรหลวงพ่อดำให้ดลบันดาลสิ่งที่ตนเองปรารถนา ซึ่งส่วนมากก็สมปรารถนากันทุกคนอย่างไรก็ตาม ในสมัยโบราณมีคำกล่าวขานที่เรียกว่า วัดพุทไธศวรรย์เป็นดินแดนอันมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับด้านอยู่ยงคงกระพัน เป็นที่ลือเลื่องจากอดีตตราบเท่าปัจจุบัน นั่นคือ วัดพุทไธศวรรย์เป็นสถานที่ฝึกอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหาร ก่อนออกศึกสงคราม โดยเฉพาะเมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระสังฆราชฝ่ายซ้ายคู่กับสมเด็จพระวันรัตน์ (พนรัตน์) วัดป่าแก้ว (วัดเจ้าพระยาไทหรือวัดใหญ่ชัยมงคล) พระสังฆราชฝ่ายขวา ได้ทำพิธีอาบน้ำว่านให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า ในเช้าของวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ.๒๑๓๕
             
ปัจจุบัน วัดพุทไธศวรรย์มี "พระพุทไธศวรรย์วรคุณ" หรือ หลวงพ่อหวล ภูริภัทโท เป็นเจ้สอาวาส ทั้งนี้ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าผู้สืบทอดพระเวทวิทยาคม สายวัดประดู่ทรงธรรมจากหลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช มีวิชาเล่นแร่แปรธาตุ ถึงขนาดลูกศิษย์ลูกหาเล่าว่า หลวงพ่อหวล ตัดเหล็กไหลหลอมเหล็กไหลได้ ท่านสร้างวัตถุมงคลประเภทเหรียญรุ่นแรกมีประสบการณ์โด่งดัง แพร่สะพัดไปทั่วตั้งแต่ปี ๒๕๑๕
              เนื่องในวาระครบ ๗ รอบ หลวงพ่อหวล ในวันศุกร์ ที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๖ จึงขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมงานมุทิตาจิตถวายแด่หลวงพ่อหวล ในงานนี้คณะศิษย์นำโดยพันเอกทวีศักดิ์ จันทราสินธุ ผบ.หน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิดอโณทัย จ.ปัตตานี ได้จัดสร้างเหรียญที่ระลึก ๗ รอบ ถวายแด่หลวงพ่อหวล พร้อมทั้งนำปัจจัยในการบอกบุญเป็นจำนวน ๑ ล้านบาท มอบถวายแด่หลวงพ่อหวล เพื่อก่อตั้งกองทุน กัลปพฤกษ์ สำหรับพระภิกษุประจำวัดพุทไธศวรรย์




ประวัติโดยย่อหลวงพ่อหวล ภูริภทฺโท
พระพุทไธศวรรย์วรคุณ (หลวงพ่อหวล ภูริภทฺโท) 
นามเดิมท่านชื่อ หวล การเกตุ ท่านเป็นบุตรของคุณพ่อไล้ คุณแม่เสงี่ยม การเกตุ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๙ ค่ำ เดือน ๙ ตรงกับวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ พื้นเพเดิมอยู่ ตำบลสามง่าม อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง มีพี่น้องร่วมบิดามารดา จำนวน ๙ คน คือ 
๑.นายไสว   ๒.นางผัน   ๓.นายผ่อน   ๔.นายผิน   ๕.นางผล   ๖.นางผวล  ๗.นายหวล ( หลวงพ่อหวล )  ๘.นางสง่า  ๙.นางหอม
ท่านเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ในพระพุทธศาสนา โดยท่านบรรพชาที่วัดกษัตราธิราชวรวิหาร ในขณะนั้นหลวงพ่อหรือพระครูสาธุกิจโกศล (ต่อมารับตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดพุทไธศวรรย์ เจ้าคณะตำบลสำเภาล่ม) ยังอยู่ที่กษัตราธิราชวรวิหาร หลวงพ่อหวลท่านอยู่ที่กษัตราธิราชวรวิหาร ได้ระยะหนึ่ง ก็ย้ายมาอยู่ที่วัดพุทไธศวรรย์ และเข้ารับการอุปสมบทที่วัดพุทไธศวรรย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ โดยมีพระราชาธานินทร์ (หลวงพ่อเจิม) เป็นอุปัชฌาย์ พระกุศลธรรมธาดา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์ยอด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาทางพระภิกษุว่า ภูริภทฺโท  ท่านใช้ชีวิตอยู่ในสมณะเพศด้วยความมุ่งมั่น และด้วยเป็นที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตลอดมา จึงได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าอาวาส วัดพุทไธศวรรย์ ในปี ๒๔๙๗ แทนพระครูสาธุกิจโกศลที่มรณภาพ 
ต่อมาญาติโยมได้พร้อมใจกันพระภิกษุหวล การเกตุ ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพุทไธศวรรย์ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ถึงปัจจุบัน และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ 
อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔ มหาเถรสมาคมมีมติให้เลื่อน พระครูภัทรกิจโสภณ วัดพุทไธศวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตำแหน่งเจ้าคณะตำบลชั้นเอก เป็น เทียบคณะอำเภอชั้นเอก ตั้งวันที่ ๕ ธันวาคม๒๕๔๔ เป็นต้นไปท่านเป็นผู้นำในการบูรณะซ่อมแซมโบราณสถาน โบราณวัตถุภายในวัดให้มีสภาพสวยงามมั่นคงแข็งแรง อุโบสถ วิหาร พระพุทธรูปภายในพระระเบียงรอบองค์พระปรางค์ พระพุทธรูปภายในวิหารต่างๆ หลายหลังที่สามารถทำได้ นอกจากนี้ท่านยังได้ทำการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ว่าง ภายในวัดให้เป็นระเบียบสวยงาม เช่น จัดทำสวนดอกไม้ประดับ และปลูกสวนป่าตามโครงการของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เป็นต้น นับว่าท่านพระครูภัทรกิจโสถณ เป็นกำลังสำคัญในการทำนุบำรุงและปรุบปรุงฟื้นฟูวัดพุทไธศวรรย์ให้มีความเจริญ รุ่งเจริญ เพื่อพระพุทธศสาสนาดำรงอยู่และยังประโยชน์ให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้เข้ามาปฏิบัติธรรมสือบต่อไป
พ.ศ.๒๔๙๘ เป็นเจ้าอาวาสวัดพุทไธศวรรย์
พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นเจ้าคณะตำบลสำเภาล่ม
พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นตรี หรือ พระครู ภัทรกิจโสภณ
พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. ๒๕๑๖ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นโท โดยได้รับพระ ราชทานนามเดิม
พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นเอก โดยได้รับพระ ราชทานนามเดิม 
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเทียบเท่าเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก โดยได้รับพระราชทานนามเดิม
พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับการแต่งตั้งรักษาการเจ้าอาวาสพระอารามหลวง โดยได้รับพระราชทานนามเดิม
พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ในราชทินนาม พระพุทไธศวรรย์วรคุณ
 

ขอขอบคุณข้อมูล  สำนักงานคณะกรรมการวัดพุทไธศวรรย์ /คมชัดลึกออนไลน์วันที่ 07-10-2556

ราคาชุดละ 1,900 บาท 

ส่งฟรี ems ครับ

สอบถามเพิ่มเติมทางไลน์
Line : Lalida1977
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้